เมนู

เห็นเทวดาที่มีศักดิ์สูงกว่า กิจกรรมแม้ทั้งหมดนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นทุกข์. บทว่า
เอกจฺเจ จ วินิปาติกา ได้แก่ เวมานิกเปรต. ก็เปรตเหล่านั้น ย่อมเสวย
สมบัติตามกาลเวลา เสวยกรรมตามกาลเวลา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีสุข
มีทุกข์คลุกเคล้ากันไปทีเดียว. ด้วยประการดังพรรณนามานี้ สุจริต 3 อย่าง
ในพระสูตรนี้ พึงทราบว่า พระองค์ตรัสให้เจือกัน ไป ทั้งที่เป็นโลกิยะ
และโลกุตระ.
จบอรรถกถาสังขารสูตรที่ 3

4. พหุการสูตร



ว่าด้วยผู้มีอุปการะมาก 3 จำพวก



[463] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล (อาจารย์) 3 นี้ เป็นผู้มี
อุปการะมากแก่บุคคล (ศิษย์) บุคคล (อาจารย์) 3 นี้คือใคร คือ บุคคล
(ศิษย์) อาศัยบุคคล (อาจารย์) ใด จึงได้ถึงพระพุทธเจ้า ... พระธรรม ...
พระสงฆ์เป็นสรณะ บุคคล (อาจารย์) นี้ เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล
(ศิษย์) นี้
อนึ่งอีก ภิกษุทั้งหลาย บุคคล (ศิษย์) อาศัยบุคคล (อาจารย์) ใด
จึงรู้ตามจริงว่า นี่ทุกข์ ... นี่เหตุเกิดทุกข์ ... นี่ความดับทุกข์ ... นี่ข้อปฏิบัติ
ให้ถึงความดับทุกข์ บุคคล (อาจารย์) นี่ เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล
(ศิษย์) นี้

อนึ่งอีก ภิกษุทั้งหลาย บุคคล (ศิษย์) อาศัยบุคคล (อาจารย์) ใด
จึงกระทำให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะ
สิ้นอาสวะทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเองอยู่ในปัจจุบันนี่ บุคคล (อาจารย์)
นี่เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล (ศิษย์) นี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าบุคคลอื่นจะมีอุปการะมากแก่บุคคล
(ศิษย์) นี้ ยิ่งกว่าบุคคล 3 นี่ไม่มี อนึ่ง เรากล่าวว่า บุคคล (ศิษย์) นี้
จะทำการสนองคุณแก่บุคคล (อาจารย์) 3 นี้ไม่ได้ง่ายเลย แต่เพียงด้วยการ
กราบ ลุกรับ ทำอัญชลี สามีจิกรรม และคอยให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และยาแก้ไข้.
จบพหุการสูตรที่ 4

อรรถกถาพหุการสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในพหุการสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตโยเม ภิกฺขเว ปุคฺคลา ได้แก่บุคคลผู้เป็นอาจารย์ 3
จำพวก. บทว่า ปุคฺคลสฺส พพุการา ได้แก่ ผู้มีอุปการะมากแก่คนผู้เป็น
อันเตวาสิก บทว่า พุทฺธํ ได้แก่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า. บทว่า สรณํ
คโต โหติ
ความว่า ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง. บทว่า ธมฺมํ ได้แก่
นวโลกุตรธรรม พร้อมทั้งแบบแผน (พระปริยัติธรรม). บทว่า สํฆํ ได้แก่
ชุมนุมพระอริยบุคคล 8 จำพวก.
ก็การถึงสรณะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ด้วยสามารถแห่งบุคคล
ผู้ไม่เคยถึงสรณะ คือผู้ไม่เคยทำความเชื่อมั่น. เป็นอันว่า อาจารย์ 3 จำพวก